"อิทธิบาท 4" เป็นแนวทางการทำงานที่พระพุทธองค์ได้ทรงสดับไว้อย่างแยบคลาย อันประกอบด้วยแนวปฏิบัติ 4 ข้อ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ซึ่งใครๆก็ท่องได้ จำได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ปฏิบัติได้ครบกระบวนความทั้ง 4 ข้อ อันเป็น 4 ขั้นตอนที่ต่อเนื่องหนุนเสริมกัน จะขาดข้อใดข้อหนึ่งไม่ได้ ด้วยว่ามันเป็นกระบวนการที่เชื่อมโยงกันทั้ง 4 ข้อ จึงจะทำให้เราประสบผลสำเร็จในชีวิตและการงานได้ตามความมุ่งหวัง ผมขออธิบายดังต่อไปนี้
1) ฉันทะ คือ การมีใจรักในสิ่งที่ทำ ใจที่รักอันเกิดจากความศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งที่ทำ จึงจะเกิดผลจริงตามควร เราคงเคยได้ยินคำว่า "ขอฉันทามติจากประชุม" บ่อยๆ หรือ "มีฉันทะร่วมกัน" ก่อนเลิกการประชุมบางอันเป็นเสมือนสัญญาระหว่างกันว่าเราจะทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ร่วมกันหรือละเว้นบางสิ่งร่วมกัน ซึ่งความเข้าใจในข้อนี้ผมคิดว่าถูกเพียงครึ่งเดียว เพราะความหมายของ "ฉันทะ" นั้น ไม่ใช่แปลว่าเป็นสัญญาภาษากระดาษหรือสัญญาที่ให้ไว้กับมวลหมู่สมาชิกเท่านั้น หากแต่เป็นสัญญาใจและเป็นใจที่ผูกพัน เป็นใจที่ศรัทธาและเชื่อมั่นต่อสิ่งนั้นอยู่เต็มเปี่ยม จึงจะเกิดความเพียรตามมา เปรียบได้กับนักวิจัยที่ศรัทธาและเชื่อมั่นในแนวคิดแนวปฏิบัติของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นซึ่งอาจมีมากน้อยต่างกัน คงไม่มีใครบอกได้นอกจากตัวนักวิจัยเองและผลของงานที่เกิดขึ้นจริงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะชน
การมีใจรัก ถือว่าสำคัญมาก ไม่ใช่ทำใจให้รักเพื่ออะไรสักอย่าง หรือ ห้ามใจไม่ให้รัก มันก็ยากยิ่งพอๆกัน เพราะรักดังกล่าวไม่ได้เกิดจากความรักความศรัทธาของเราจริงๆ ขืนทำไปก็มีแต่จะทุกข์ทรมานแม้จะได้บางสิ่งที่มุ่งหวังแล้วก็ตาม ประการสำคัญเป็นการแอบแฝงมาจากความคิดอื่นศรัทธาอื่นหรือความเป็นอื่นที่เราพยายามหาเหตุและผลมาอธิบายว่า มันคือสิ่งเดียวกันเพื่อให้สามารถดำเนินไปได้หรือเพื่อให้ตัวเองสบายใจที่สุด แต่ถ้าเรามีใจศรัทธาอันแรงกล้าแล้ว พลังสร้างสรรค์ก็จะบังเกิดขึ้นกับเราอย่างมหัศจรรย์ทีเดียว
ทีนี้มาพูดถึงว่า "เราจะสร้างฉันทะให้เกิดขึ้นได้อย่างไร" พระพุทธองค์เคยสอนไว้ว่า มนุษย์เราต้องเลือกที่จะศรัทธาบางอย่างและหมั่นตรวจสอบศรัทธาของตัวเองว่าดีต่อตัวเองและดีต่อผู้อื่นอันรวมถึงสังคมโดยรวมหรือไม่ เมื่อดีทั้งสองอย่างก็จงมุ่งมั่นที่จะทำด้วยความตั้งใจ และหากไม่ดีก็จงเปลี่ยนแปลงศรัทธาเสียใหม่ ซึ่งเราต้องเลือก ไม่เช่นนั้นเราจะกลายเป็นคนที่สับสนไม่มีแก่นสารและเป็นคนไร้รากในที่สุด เมื่อเป็นคนไม่มีแก่นสารก็จะถูกชักชวนไปในทางที่ไม่ดีได้ง่ายนั่นเอง
หากจะฝึกฝนตนเอง อาจเริ่มจากการตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราศรัทธาอะไรอยู่ เพราะคนเราเมื่อศรัทธาอะไรก็จะได้พบกับสิ่งนั้นเข้าถึงสิ่งนั้น ศรัทธาในเทคโนโลยีเราก็จะเข้าถึงเทคโนโลยี ศรัทธาต่อชาวบ้านเราก็จะเข้าถึงชาวบ้าน ศรัทธาต่อวัตถุก็จะเข้าถึงวัตถุ ศรัทธาต่อลาภยศสรรเสริญก็จะเข้าถึงลาภถึงยศเข้าถึงตำแหน่ง ศรัทธาต่อความรู้ก็จะเข้าถึงความรู้ หรือศรัทธาต่อหลักธรรมก็จะเข้าถึงธรรม หรือไม่ศรัทธาอะไรเลยก็ไม่เข้าถึงก็ไม่เข้าถึงอะไรเลย เพราะความศรัทธานำมาซึ่งมุ่งมั่นทุ่มเทเพื่อทำทุกอย่างให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เราศรัทธานั่นเอง
ขณะเดียวกันก็ลองตรวจสอบตัวเองดูว่าสิ่งที่เราศรัทธากับสิ่งที่องค์กรของเราศรัทธานั้นตรงกันหรือไม่ หากตรงกันก็เรียรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงตนหรือหากไม่ตรงกันก็เรียนรู้ที่จะให้โอกาสตัวเองไปสู่แห่งที่ที่เหมาะสมกว่า
2) วิริยะ คือ ความมุ่งมั่นทุ่มเท เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ ที่จะเรียนรู้และทำให้เข้าถึงแก่นแท้ของสิ่งนั้นเรื่องนั้น ถ้าหากกระทำก็จะทำจนเชี่ยวชาญจนเป็นผู้รู้ ถ้าหากศึกษาก็จะศึกษาให้รู้จนถึงรากเหง้าของเรื่องราวนั้นๆ ดังนั้น คำว่า "วิริยะ" จึงหมายถึงความเพียรพยายามอย่างสูงที่จะทำตามฉันฑะหรือศรัทธาของตัวเอง หากเราไม่มีความเพียรแล้วก็อนุมานได้ว่าเรามีฉันทะหลอกๆ หรือศรัทธาหลอกๆ ทั้งโกหกตัวเองและหลอกผู้อื่น เพื่ออะไรนั้น ผลงานที่เขาทำจะชี้ชัดออกมาเองว่าทำเพื่ออะไร ดังนั้น นักวิจัยท้องถิ่น จึงต้องมีใจที่รักต่อคนท้องถิ่นและรักต่อการทำงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาคนท้องถิ่น อันเป็นศรัทธาสูงสุด หากไม่เป็นเช่นนั้น ก็ได้แต่เพียงศรัทธาปากเปล่าที่ไร้แม้เงาของความมุ่งมั่นและทุ่มเท หากแต่มีศรัทธาอื่นให้ครุ่นคิดและกระทำอยู่
วิริยะนี้มาคู่กับความอดทนอดกลั้น เป็นความรู้สึกไม่ย่อท้อต่อปัญหาและมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งปวง โดยมีศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นำใจ และเตือนใจ ความอดทนเป็นเครื่องมือสำหรับคนใจเย็นและใจงามด้วย ไม่ใช่มุทะลุดุดันรบเร้าและรุ่มร้อน เพราะมันจะทำให้มีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย หรือสูญเสียความอดทนในที่สุด ดังนั้น ความวิริยะอุสาหะ จึงเป็นวิถีทางของบุคคลที่หาญกล้าและทายท้าต่ออุปสรรคใดๆทั้งมวล
ถามว่า "ความวิริยะมันเกิดจากอะไร" คำตอบก็คือ "เกิดจากศรัทธาหรือฉันทะนั่นเอง" และเป็นศรัทธาที่มั่นคงด้วยไม่ว่าจะมีอุปสรรค์ใดๆมากระทบก็ตามก็จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่อาจปล่อยวางหรือวางเฉยในบางเวลาบางสถานการณ์บ้าง เพื่อรอสภาวะที่เหมาะสมกว่า ความวิริยะไม่ใช่ความดุดันอย่างเอาเป็นเอาตายหรือต้องให้ได้เสมอ แต่มันคือความแยบยลและเลือกที่จะทำบางอย่างเพื่อรักษาศรัทธาไว้หรือเพื่อรอวาระที่เหมาะสมอันหมานถึงการบรรลุผลแห่งศรัทธา
ถ้าจะฝึกฝนเรื่องความวิริยะแล้วคงต้องเริ่มจากความคิดที่ว่า ต้องหมั่นฝึกฝนตนเองบ่อยๆ หมั่นทำหมั่นคิดหมั่นเขียนหมั่นนำเสนอและอย่าขี้เกียจ อย่ากลัวความผิดพลาดและจงกล้าแสดงออกซึ่งความรับผิดชอบต่อความล้มเหลวของตัวเอง อย่าท้อต่องานหนักและงานมากให้คิดว่าทำมากรู้มากเก่งมากขึ้น อย่าบ่นว่าไม่มีเวลาเพราะเวลามีเท่าเดิม ฯลฯ
3) จิตตะ คือ ใจที่จดจ่อและรับผิดชอบ เมื่อมีใจที่จดจ่อแล้วก็จะเกิดความรอบคอบตาม คำนี้ยิ่งใหญ่มากโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่มักจะใจแตกบ่อยๆหรือใจแตกยาวนาน มักหลงใหลได้ปลื้มไปกับวัตถุ เทคโนโลยี เที่ยวกลางคืน เรื่องเพศและยาเสพติด เมื่อใจแตกก็มักจะขาดความรับผิดชอบ คิดทำอะไรก็มักทำแบบสุกเอาเผากินพอให้เสร็จไปวันๆ ทำอะไรก็ไม่ดีสักอย่างทำผิดๆถูกๆอยู่อย่างนั้น ชอบเอาดีใส่ตัวเองและให้ร้ายผู้อื่นตามมา อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียแก่ตนเองและองค์กร ถ้าอยู่ในวัยเรียนก็จะเสียการเรียนเสียชื่อเสียงของโรงเรียนและพ่อแม่ก็เสียใจ ถ้าอยู่ในวัยทำงานก็จะเสียงานและองค์กรก็จะเสียงานด้วย
แต่ถ้าเรามีใจที่จดจ่อต่อสิ่งที่เราคิดเราทำและรับผิดชอบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการเรียนหรือการงานก็ตาม ทุกอย่างก็จะดีขึ้นไปเอง เราก็จะมีความรอบรู้มากขึ้นเรื่อยๆด้วยใจที่จดจ่อตั้งมั่นและใฝ่เรียนรู้ของเรา เมื่อมีความรอบรู้มากขึ้นก็จะเกิดความรอบคอบตามมา เมื่อมีความรอบคอบแล้วการตัดสินใจทำอะไรก็จะเกิดความผิดพลาดน้อยตามไปด้วย
ความรอบคอบจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากไม่รอบรู้ ดังนั้น การที่คนจะรอบรู้ได้นั้น ต้องหมั่นศึกษาเรียนรู้อยู่เป็นเนื่องนิจ ติดตามข่าวสารบ้านเมืองสม่ำเสมอ ต้องอ่านหนังสืออย่าให้ขาดและหลากหลายโดยไม่ยึดติดกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ประการสำคัญต้องฝึกตั้งคำถามกับตัวเองกับเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นรอบตัวเราพร้อมกับค้นหาคำตอบให้ได้ การฝึกสนทนากับผู้รู้บ่อยๆก็เป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเมื่อเราทำได้อย่างนี้แล้ว เราก็จะเป็นผู้ที่เข้าใกล้ความรอบรู้ไปโดยปริยาย
เมื่อเราเข้าใกล้ความรอบรู้แล้ว ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะวิเคราะห์สังเคราะห์เนื้อแท้ของเรื่องราวนั้นๆ ออกมาสู่การตัดสินใจของหมู่คณะหรือแม้แต่เรื่องส่วนตัวของเราเอง ดังนั้น ความรอบคอบจึงแฝงไปด้วยความรอบรู้ตามสภาพจริงของมัน อันเป็นแนวปฏิบัติที่คนรุ่นใหม่ต้องสร้างให้เกิดเป็นนิสัยแก่ตนเอง ไม่ใช่ใช้ความเจ้าเล่ห์เพทุบายคอยหาโอกาสแสวงหาผลประโยชน์เข้าตัวเองและพวกพ้องเหมือนคนในสังคมปัจจุบันที่เราเห็นกันดาดเดื่อน
ความรอบคอบนอกจากจะดำรงอยู่คู่กับความรอบรู้แล้ว ยังต้องอาศัยความดีงามเป็นเครื่องเตือนสติด้วย ถึงจะสามารถใช้จิตของเราพินิจพิจารณาและตรึกตรองในเนื้อแท้ของสิ่งต่างๆนั้นได้อย่างเหมาะสม เพราะความดีงามตามแบบอย่างของคุณธรรมตามหลักศาสนาและจริยธรรมของสังคมนั้นเป็นสิ่งเดียวที่จะทำให้มนุษย์อยู่ร่วมกันอย่างปรกติสุข ไม่เช่นนั้นแล้วมนุษย์อาจเข่นฆ่ากันไม่เว้นแต่ละวันแม้ว่ามนุษย์จะอุดมไปด้วยความรู้และความรอบคอบก็ตาม
4) วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา อันเกิดจาก การมีใจรัก (ฉันทะ) แล้วทำด้วยความมุ่งมั่น (วิริยะ) อย่างใจจดใจจ่อและรับผิดชอบ (จิตตะ) โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้และรอบคอบ จึงนำไปสู่การทบทวนตัวเอง และทบทวนองค์กรหรือทบทวนขบวนการ ทบทวนในสิ่งที่ได้คิดสิ่งได้ทำผ่านมาว่าเกิดผลดีผลเสียอย่างไร ทั้งที่เป็นเรื่องส่วนตัวของเราเองและเป็นเรื่องที่ร่วมคิดร่วมทำกับคนอื่น เพื่อปรับปรุงปรับแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น
การทบทวนเรื่องราวจากภายในของตัวเองเป็นสิ่งสำคัญมากในยุคปัจจุบันที่ผู้คนเริ่มสับสนวุ่นวายอย่างเข้มข้น ทบทวนความคิดเพื่อตรวจสอบความคิดและการกระทำของเราว่าเราคิดหรือทำจากความคิดอะไร? พร้อมกับถามตัวเองว่าเราคิดอย่างนั้นเพื่ออะไร? เราทำสิ่งนี้เพื่ออะไร? เพื่อความสุขของตัวเองหรือเพื่อความสงบสุขของสังคม? ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เรารู้ว่าเราควรจะอยู่ ณ จุดไหนของสังคมหรือเปลี่ยนแปลงตนอย่างไรไปสู่การสร้างสรรค์ตนเองและสังคมที่งดงาม
ในการวิจัยและการพัฒนานั้นเรามักจะใช้คำว่า "สรุปบทเรียน" เป็นการสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อดูว่าสิ่งที่คิดและทำมานั้นมันดำเนินไปในแนวทางที่วาดหวังหรือไม่ หรือว่าคิดไว้อย่างทำอีกอย่าง หรือคิดไว้แต่ไม่ได้ทำเลย หรือทำไปแล้วแต่ไม่ได้อย่างที่มุ่งหวัง ทั้งนี้จะได้วิเคราะห์ต่อไปว่า ที่มันสำเร็จมันเป็นเพราะอะไร และที่มันล้มเหลวมันเกิดจากอะไร เพื่อที่จะได้หาแนวทางแก้ไขหรือหาทางหลีกเลี่ยงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น
การสรุปบทเรียนนั้น คนส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า สรุปเมื่องานเดินทางมาได้ครึ่งทางหรือสิ้นสุดการทำงาน หรืออย่างดีที่สุดมีการทำแผนงานรายไตรมาส คือทุก 3 เดือน จึงสรุปบทเรียนครั้งหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วการสรุปบทเรียนควรจะทำให้อย่างสม่ำเสมอ อาจเป็นการพูดคุยกันหลังเสร็จสิ้นการทำกิจกรรมทุกครั้ง หรือหลังเลิกงานแต่ละวัน หรือใช้วิธีการแบบไม่เป็นทางการ เพื่อสรุปบทเรียนของแต่ละคนให้ได้มากที่สุด หรือพูดคุยกับตัวเองบ้าง แต่ช่วงที่เหมาะสมที่สุดคือช่วงที่รู้สึกว่างและปลอดโปร่งจากเรื่องราวทั้งปวง ซึ่งควรทำให้เป็นนิจสิน
ดังนั้น "อิทธิบาท 4" จึงมีความหมายกับคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะเดินทางไปในสู่ความสำเร็จในชีวิตและการงาน เพราะหากทำได้ตามกระบวนความแล้ว สังคมความรู้ ชุมชนความรู้ และปัจเจกชนความรู้ คงอยู่ไม่ไกลเกินฝัน ประการสำคัญ "อิทธิบาท 4" ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างโดดเดี่ยวจากหลักธรรมข้ออื่นๆอันเป็นองค์รวมและเชื่อมโยงถึงกัน เพียงแต่อธิบายคนละบทบาทเท่านั้น สิ่งสำคัญ เราได้ใคร่ครวญในเรื่องเหล่านี้มากน้อยเพียงใด เพราะ ในโลกปัจจุบัน โลกที่สั่งสมอวิชชามามากจนเกินล้น จึงกลายเป็นโลกที่ฉาบฉวยและวุ่นวายสูงสุด นั่นแปลว่าเราต้องฝึกฝนตนเองหลายเท่าตัวเพื่อจะเข้าใจและเข้าถึงหลักธรรมที่ก่อกำเกิดการพัฒนาที่จุดเริ่มต้นของตนเองอย่างแท้จริง
วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550
' การเดินทาง ออกจากการเป็นบ้า ' ถนนที่ทอดยาว เพื่อ ผู้ป่วยจิตเวช
กลิ่นของโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวชนั้นเป็นกลิ่นเฉพาะ ที่เกิดจากการหมักหมม เหงื่อไคลของผู้ป่วยติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เป็นกลิ่นที่เหมือนจะตีตราว่าผู้ที่ป่วยด้วยอาการเช่นนี้ไม่มีโอกาสรักษาให้หายได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโรคจิตเวชคือความผิดปกติทางกาย เนื่องจากพยาธิสภาพในสมองและผู้ป่วยโรคจิตเวชบางรายสามารถรักษาให้หายจนสามารถกลับคืนสังคมคนปกติได้
โรคจิตเวช คือ ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง ในขณะที่ผู้ป่วยโรคจิตเวชชนิดรุนแรงที่สุดคือเรียกว่า โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่พบมากที่สุดในเวลานี้คิดเป็นจำนวน 1% ของประชากรโลก โดยผู้ป่วยมักเริ่มเป็นโรคนี้ในช่วงอายุ 14-16 ปี
ทั้งนี้ อาการของโรคจิตเภท เป็นการแสดงออกของความผิดปกติของ ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ร่วมกัน ความคิดของผู้ป่วยโรคจิตเภท มักเป็นความคิดแบบเพ้อฝันไม่อยู่กับร่องกับรอย คิดอะไรเอาเองตามใจชอบหรือตามปัญหาที่เรามีอยู่ โดยที่ผู้อื่นไม่เข้าใจในความคิดของเขา จนสามารถแปรเปลี่ยนเป็น"อาการหลงผิด" (Delusion) ได้
แม้จะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางกาย เนื่องจากพยาธิสภาพในสมองมีความผิดปกติ แต่ต้นทุนทางสังคมของผู้ป่วยด้วยโรคชนิดนี้มักมีค่าเท่ากับศูนย์หรือในบางทีอาจติดลบไปเลย ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นผู้ป่วยโดยโรคจิตเวช หากได้รับการรักษาดูแล และบำบัดด้วยยาอย่างถูกวิธีพวกเขาสามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนหน้าที่จะถูกตีตราว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิต
หนังสือ The Quiet Room A Journey Out of the Torment of Madness หรือชื่อในภาษาไทยคือ "การเดินทางออกจากการเป็นบ้า" เขียนโดยอดีตผู้ป่วยจิตเภท ที่ชื่อ ลอรี ชิลเลอร์ และแปลโดย อดีตผู้ป่วยจิตเภทชาวไทย "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม" ภายในหนังสือหนากว่า 300 หน้า สิ่งหนึ่งที่อดีตผู้ป่วยทั้งสองต้องการสื่อสารผ่านทางตัวอักษรคือการเปิดให้คนนอกได้เข้ามาสัมผัส โลกของผู้ป่วยโรคจิตเภทว่าภายใต้สิ่งที่คนปกติทั่วไปตีตราว่าเป็นความบ้าที่รักษาไม่หายนั้น ในความเป็นจริงแล้วยังมีประตูที่รอเวลาให้ผู้ป่วยเหล่านั้นได้เปิดออกเพื่อเดินเข้าสู่สังคมเยี่ยงคนปกติทั่วไปได้*
'จิตเวช' โรคทางกายที่สามารถรักษาให้หายได้
ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ โรคจิตเวช คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตเนื่องจากการทำงานผิดปกติของสมอง ในขณะที่ โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคจิตเวชชนิดรุนแรงที่พบมากที่สุด มีคนป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 1% ของประชากรโลก ผู้ป่วยมักเริ่มเป็นโรคนี้ในช่วงอายุ 14-16 ปี
ลักษณะอาการของผู้ป่วยประเภทนี้จะมีบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ผิดปกติไปจากสังคมทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะแปลกประหลาดหรือไม่ถูกกาลเทศะ หรือน่าอับอาย พูดเพ้อเจ้อเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง มีพฤติกรรมที่ดูดุดันน่ากลัว หรือมีตาขวาง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติเกิดร่วมกับสัมผัสที่ผิดปกติคือ อาจมีการรับสัมผัสโดยที่ไม่มีตัวกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางผิวหนัง อาการแบบนี้เราเรียกว่า "ประสาทหลอน" (hallucination) อาการประสาทหลอนที่พบบ่อยที่สุดในโรคจิตเภท คือประสาทหลอนทางหูหรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า หูแว่ว (auditory hallucination) ผู้ป่วยอาจคิดแล้วได้ยินเสียงความคิดตัวเอง อาจได้ยินเสียงคนมาด่าหรือมาชม อาจได้ยินเสียงคนหลายๆ คนโต้เถียงกัน บางทีก็เป็นเสียงสั่งให้ผู้ป่วยทำอะไรๆ แม้แต่สั่งให้ไปฆ่าตัวตายจนผู้ป่วยต้องจบชีวิตตนเองลงก็มี บางครั้งก็อาจมีประสาทหลอนทางตา หรือเห็นภาพหลอน (visual hallucination) ผู้ป่วยอาจเห็นภาพคนที่ตายไปแล้ว หรือเห็นนางฟ้า เทวดา พญายม มาเรียกหาโดยที่เป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของตน
ลักษณะอาการทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยโรคจิตเภทมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าได้รับการรักษาที่ดีหรือไม่ สำหรับสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคจิตเภทในเมืองไทยมีเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับการรักษา เพราะคนโดยทั่วไปไม่มีความรู้ในเรื่องโรคจิตเวช และคิดว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อแต่เดิมที่คอยตอกย้ำว่า โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้
แพทย์หญิงสมรัก ชูวานิชวงศ์ จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวถึงการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวชว่า
"ที่ผ่านมาเราจะถูกปลูกฝังว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโรคประเภทนี้เป็นโรคทางกาย สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายและส่งพวกเขากลับคืนไปสู่สังคมการทำงานเดิมของตนเองได้ แต่การที่ผู้ป่วยโรคจิตเวช คนหนึ่งจะหายได้อย่างเด็ดขาดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ปัจจัยแรกและสำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเองที่ต้องยอมรับว่าตนเองมีอาการ และเปิดใจที่จะทำการรักษา ปัจจัยที่สองคือ ครอบครัวของผู้ป่วยที่ยอมรับว่าคนในครอบครัวเป็นโรคจิตเวช พามารับการรักษาในระยะเริ่มต้นของโรค ปัจจัยสุดท้ายคือแพทย์ที่เอาใจใส่คนไข้ และ ยาที่ใช้ในการรักษา หากปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถมาบรรจบกันได้ในตัวผู้ป่วย อาการของโรคก็จะเบาบางลงจนถึงหายสนิท แต่ในบางครั้ง ยาดีมีแล้ว หมอดีมีแล้ว แต่คนไข้ กับหมอดี กับยาดีไม่เจอกัน ก็ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเวช ต้องทนทรมานอยู่กับอาการของโรคต่อไป
ถึงเวลานี้ภาพของผู้ป่วยโรคจิตเวช ในเมืองไทยควรจะได้รับการดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยทางกายรายอื่น เพราะในปัจจุบันพัฒนาการทางการรักษาของโรคนี้มีมากขึ้น และรัฐก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเพิ่มงบประมาณ โดยเน้นไปที่ตัวยา แต่ถ้าจะให้ครบวงจรของการบำบัดผู้ป่วยด้วยโรคประเภทนี้แล้ว ควรจะมีการให้ความรู้กับสังคมเกี่ยวกับโรคจิตเวชด้วย
*การเดินทางของออกจากการเป็นบ้าของ "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม"
จากอดีตที่เป็นคนเก็บตัวอยู่กับโลกของตนเองมองโลกในแง่ร้าย และโดดเดี่ยว ปัจจุบัน "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม" มีสายตาในการมองโลกที่เปลี่ยนไป อาการป่วยของเครือวัลย์ นั้นเกิดขึ้นในช่วงต้นของวัย 40 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่น่าจะมีป่วยด้วยโรคจิตเภทได้ ทั้งนี้เธอได้เล่าถึงอาการป่วยของตนเองว่า
"ในช่วงที่เริ่มรู้สึกตัวว่าตนเองป่วยนั้น จะมีอาการหูแว่ว ความคิดเปลี่ยนไป อารมณ์เปลี่ยนไป จึงตัดสินใจไปอยู่กับกลุ่มหนึ่งที่เราไว้ใจ และเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มซึ่งเป็นพยาบาลมีความเข้าใจในเรื่องโรคนี้เป็นอย่างดี เขาจึงนำเรามาหาคุณหมอสมรักษ์ ซึ่งนับว่าโชคดีมาก โดยหลังจากนั้นก็ได้รับการรักษาด้วยยาและการบำบัดอยู่ประมาณ 2 เดือนอาการต่างๆก็ค่อยๆดีขึ้น
ภายหลังจากที่ยอมรับว่าตนเองป่วยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว ทัศนคติในการมองโลกของเราก็เปลี่ยนไป พูดง่ายๆคือชีวิตก่อนหน้านี้ทุกข์ใจมากกว่านี้ จากการป่วยแล้วได้พบกับคุณหมอสมรักษ์ และคุณหมอท่านอื่นๆ รวมไปถึงเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันทำให้ตนเองได้สัมผัสถึงความงดงาม ในความสัมพันธ์และไมตรีจิตของมนุษย์ มันกลายเป็นพรที่ซ่อนอยู่ในความทุกข์ทรมาน ซึ่งก่อนนี้ตนเองจะเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย มีความเครียดสูง พอป่วยแล้วรู้สึกได้ว่าตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้ดีขึ้น"
ทั้งนี้ คุณหมอสมรัก ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "ถ้าคนเป็นโรคจิตเภทได้มีโอกาสเจอกับจิตแพทย์ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องโอกาสหายก็มี แต่ปัจจุบันการสร้างความเข้าใจให้คนไทย รู้จักโรคจิตเภท และได้รับการรักษานั้นยังอีกไกล ทั้งที่ในความเป็นจริงสังคมไทยมีคนป่วยเป็นโรคในลักษณะนี้อยู่มาก แต่ส่วนใหญ่แล้วทั้งตัวผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วยอาจปฏิเสธไม่ยอมรับว่าคนที่อยู่ในครอบครัวมีอาการ เพราะมันเป็นเรื่องยอมรับได้ยากมาก
เนื่องจากกระบวนการจิตใจของคนปกติเมื่อเกิดเรื่องร้ายขึ้นกับตนเอง บางคนอาจช็อกตกใจไปเลย ในขณะที่บางคนก็ปฏิเสธความจริงว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา ก็เลยทำเป็นเหมือนไม่เห็นเหมือนมันไม่ใช่ เป็นความรู้สึกเหมือนกับคนที่เราต้องตายจากไป เราก็ไม่อยากสูญเสียแบบนั้น
ถามว่าลูกคนหนึ่งของพ่อแม่ที่ตั้งความหวังเอาไว้มากว่าจะประสบความสำเร็จ อยู่มาวันหนึ่งหมอบอกว่าลูกเป็นโรคจิตและรักษาไม่หาย แล้วลูกมีอาการทางจิตแสดงให้เห็นอยู่ทุกวัน ลูกคนนั้นของพวกเขาเท่ากับทำให้ฝันของพ่อแม่สลายไปแล้ว ดังนั้น เวลาที่ครอบครัวดีๆ ต้องประสบกับภาวะมีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน เขาก็จะปฏิเสธที่จะดูแลคนเหล่านี้ เพราะทำใจยังไม่ได้
ตรงนี้จึงอยากจะบอกว่า จุดเริ่มต้นในการรักษาโรคจิตเภทนั้นคนไข้เองต้องเรียนรู้ความเจ็บปวดว่าตนเองเป็นโรค รวมไปถึงครอบครัวเช่นกัน เพราะบางครอบครัวคนไข้รู้ตัวและอยากมารักษา แต่ญาติพี่น้องยังรับไม่ได้ ก็กันเอาไว้ไม่ให้มารักษา"
*จาก 'ลอรี่' ถึง 'เครือวัลย์' โลกแปลกของผู้ป่วยจิตเภท
ลอรี่ ชิลเลอร์ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ของโรคจิตเภท ผ่านหนังสือ The Quiet Room A Journey Out of the Torment of Madness หรือ "การเดินทางออกจากการเป็นบ้า" เธอต้องเผชิญหน้ากับอาการป่วยของโรคนี้เมื่อมีอายุได้ 17 ปี ทั้งที่เป็นเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวฐานะดี มีคความอบอุ่น 6 ปีหลังจากมีอาการป่วย ลอรี่ พยายามฆ่าตัวตายเป็นครั้งแรก จากนั้นใช้ชีวิตในเสื้อผ้ามอมแมมเดินท่อมๆไปตามถนนในกรุงนิวยอร์ก และทนทุกข์ทรมานด้วยเสียงที่ดังก้องอยู่ในหัว
หลังตกอยู่ในโลกหลอนที่น่าสะพรึงกลัวของโรคจิตเภท ผ่านความเจ็บปวดทุกข์ยากของการบำบัดรักษาพยายามฆ่าตัวตายอีกหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความช่วยเหลือประคับประคองของครอบครัวและคนใกล้ชิด ลอรี่ กลับมาสู้กับโรคร้ายนี้จนกระทั่งเธอสามารถกลับมาสู่โลกปกติ และนำพาให้คนอื่นได้เข้าไปสัมผัสโลกของผู้ป่วยอย่างเธอผ่านทางตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้
ความรู้สึกร่วมของ เครือวัลย์ เที่ยงธรรม ในฐานะผู้ป่วยจิตเภทเช่นเดียวกับลอรี่ เมื่อครั้งที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จากการส่งผ่านของน้องสาว เธอกล่าวว่าหลายๆตอนในหนังสือคือความจริงที่เธอเองก็ต้องประสบเช่นกันในฐานะผู้ป่วย แม้ไม่มากเท่ากับลอรี่แต่ก็สัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดเช่นกัน ดังในตอนที่ ลอรี่ กล่าวถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา ซึ่งเครือวัลย์ เล่าให้ฟังว่า
"ตอนที่บรรยายถึงเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา ซึ่งผู้เขียนบอกว่ารู้จักยาจากผลข้างเคียงของมัน เนื่องจากตัวยาที่ใช้รักษานั้นจะทำให้คนไข้มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บางคนไม่สามารถตั้งคอให้ตรงได้ต้องแหงนไปข้างหลัง มีอาการซึม ตัวแข็ง เดินเหมือนซอมบี้ ลากขา หน้าตายไม่มีอารมณ์ แม้จะยิ้มก็ยังยาก ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง กระสับกระส่าย เพราะตัวยาที่ใช้รักษานั้นจะทำให้เฉื่อย และกระสับกระส่ายในเวลาเดียวกัน เมื่อได้รับยาแล้วจะอยู่นิ่งไม่ได้ต้องเดินไปเดินมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ เราก็มีประสบการณ์ร่วมไปกับลอรี่ แม้ไม่มากเท่าแต่ก็เข้าใจ"
นอกจากนี้ ภาพจากตัวอักษรที่ลอรี่ ถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ ยังสะท้อนภาพของสังคมที่ไม่เข้าใจลักษณะของโรค ดังเช่นตอนหนึ่งในหนังสือเมื่อ ลอรี่ไปสโมสรกับพ่อแม่ แล้วมีคนกระซิบกระซาบกัน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในสังคมไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา ดังเช่นลอรี่ ซึ่งป่วยเป็นโรคจิตเภทในยุคสมัยที่ตัวยาที่ใช้ทำการรักษานั้นไม่มีประสิทธิภาพพอ ที่หายก็เป็นเพราะยาตัวใหม่ตัวหนึ่งที่เพิ่งผลิตออกมา ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นในเมืองไทยเหมือนกันไม่ใช่เรื่องไม่มียา แต่เป็นปัญหาที่เข้าไม่ถึงยาของผู้ป่วย เพราะคนไทยที่ยากจน ก็จะไม่มีโอกาสเข้าถึงยาที่ดี
มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะสื่อสารไปถึงคนในสังคมปกติผ่านตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้คือการตีตราคนป่วยว่าเป็นคนไม่ดีหรือน่ากลัว เพราะดูเหมือนความรู้สึกของคนไทย ที่มีต่อโรคจิตก็คือคนที่ทำความชั่ว คนที่ทำอะไรที่แปลกแล้วชั่ว ก็จะเรียกว่าคนโรคจิต หรือไม่ก็คนโรคจิตคือคนที่ทำอะไรรุนแรง ก็จะมีข่าวให้เห็นกันบ่อยๆ
แต่คนที่ป่วยเป็นจิตเภท นั้นมีผู้ป่วยประมาณ 6 แสนคน และคนที่มีข่าวรุนแรงก็จะมีบ้างเป็นบางครั้ง แต่ที่เป็นอย่างนั้นเพราะไม่ได้รับการรักษาและถูกยั่วยุ นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้สื่อ ไม่ใช้คำว่าโรคจิต ในกรณีของฆาตกร หรือ คนที่ทำไม่ดีต่างๆ เพราะมันเป็นการตีตรา
การตัดสินคนในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เสียใจแต่ทำให้คนไม่กล้าเข้าไปรักษา เนื่องจากสังคมไม่ยอมรับว่านี่คือโรคอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าไปรักษากลัวว่าจะถูกตีตรา ทำให้ผู้ป่วยต้องทนอยู่กับโรค และโอกาสที่จะหายของผู้ป่วยจะน้อยลงด้วย"
จนถึงเวลานี้ ยังมีผู้ป่วยโรคจิตเวช อีกหลายร้อยคนที่กำลังรอคอยเวลาที่จะได้เดินทางออกจากการเป็นบ้า แต่การเดินทางของพวกเขาจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นกับการเปิดใจ และการให้กำลังใจของสังคมในการยอมรับว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคทางกายเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง เมื่อได้รับการรักษาที่ดีแล้ว พวกเขาสามารถเดินทางกลับคืนสู่สังคม และครอบครัวที่พวกเขารักได้
**************************เรื่อง - สวรรยา ทรัพย์ทวี- - - - -- -- - - - - - - - - - -- -- - - -- ข่าว จาก : ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548
โรคจิตเวช คือ ความผิดปกติทางจิตที่เกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง ในขณะที่ผู้ป่วยโรคจิตเวชชนิดรุนแรงที่สุดคือเรียกว่า โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นผู้ป่วยจิตเวชที่พบมากที่สุดในเวลานี้คิดเป็นจำนวน 1% ของประชากรโลก โดยผู้ป่วยมักเริ่มเป็นโรคนี้ในช่วงอายุ 14-16 ปี
ทั้งนี้ อาการของโรคจิตเภท เป็นการแสดงออกของความผิดปกติของ ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ร่วมกัน ความคิดของผู้ป่วยโรคจิตเภท มักเป็นความคิดแบบเพ้อฝันไม่อยู่กับร่องกับรอย คิดอะไรเอาเองตามใจชอบหรือตามปัญหาที่เรามีอยู่ โดยที่ผู้อื่นไม่เข้าใจในความคิดของเขา จนสามารถแปรเปลี่ยนเป็น"อาการหลงผิด" (Delusion) ได้
แม้จะเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางกาย เนื่องจากพยาธิสภาพในสมองมีความผิดปกติ แต่ต้นทุนทางสังคมของผู้ป่วยด้วยโรคชนิดนี้มักมีค่าเท่ากับศูนย์หรือในบางทีอาจติดลบไปเลย ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้นผู้ป่วยโดยโรคจิตเวช หากได้รับการรักษาดูแล และบำบัดด้วยยาอย่างถูกวิธีพวกเขาสามารถกลับคืนสู่สถานะเดิมก่อนหน้าที่จะถูกตีตราว่าเป็นผู้ป่วยโรคจิต
หนังสือ The Quiet Room A Journey Out of the Torment of Madness หรือชื่อในภาษาไทยคือ "การเดินทางออกจากการเป็นบ้า" เขียนโดยอดีตผู้ป่วยจิตเภท ที่ชื่อ ลอรี ชิลเลอร์ และแปลโดย อดีตผู้ป่วยจิตเภทชาวไทย "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม" ภายในหนังสือหนากว่า 300 หน้า สิ่งหนึ่งที่อดีตผู้ป่วยทั้งสองต้องการสื่อสารผ่านทางตัวอักษรคือการเปิดให้คนนอกได้เข้ามาสัมผัส โลกของผู้ป่วยโรคจิตเภทว่าภายใต้สิ่งที่คนปกติทั่วไปตีตราว่าเป็นความบ้าที่รักษาไม่หายนั้น ในความเป็นจริงแล้วยังมีประตูที่รอเวลาให้ผู้ป่วยเหล่านั้นได้เปิดออกเพื่อเดินเข้าสู่สังคมเยี่ยงคนปกติทั่วไปได้*
'จิตเวช' โรคทางกายที่สามารถรักษาให้หายได้
ข้อมูลเบื้องต้นสำหรับ โรคจิตเวช คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติทางจิตเนื่องจากการทำงานผิดปกติของสมอง ในขณะที่ โรคจิตเภท (Schizophrenia) เป็นโรคจิตเวชชนิดรุนแรงที่พบมากที่สุด มีคนป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 1% ของประชากรโลก ผู้ป่วยมักเริ่มเป็นโรคนี้ในช่วงอายุ 14-16 ปี
ลักษณะอาการของผู้ป่วยประเภทนี้จะมีบุคลิกภาพหรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ผิดปกติไปจากสังคมทั่วไป ซึ่งส่วนมากจะมีลักษณะแปลกประหลาดหรือไม่ถูกกาลเทศะ หรือน่าอับอาย พูดเพ้อเจ้อเรื่องราวที่ไม่เป็นความจริง มีพฤติกรรมที่ดูดุดันน่ากลัว หรือมีตาขวาง เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีความผิดปกติเกิดร่วมกับสัมผัสที่ผิดปกติคือ อาจมีการรับสัมผัสโดยที่ไม่มีตัวกระตุ้น ไม่ว่าจะเป็นทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น หรือทางผิวหนัง อาการแบบนี้เราเรียกว่า "ประสาทหลอน" (hallucination) อาการประสาทหลอนที่พบบ่อยที่สุดในโรคจิตเภท คือประสาทหลอนทางหูหรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่า หูแว่ว (auditory hallucination) ผู้ป่วยอาจคิดแล้วได้ยินเสียงความคิดตัวเอง อาจได้ยินเสียงคนมาด่าหรือมาชม อาจได้ยินเสียงคนหลายๆ คนโต้เถียงกัน บางทีก็เป็นเสียงสั่งให้ผู้ป่วยทำอะไรๆ แม้แต่สั่งให้ไปฆ่าตัวตายจนผู้ป่วยต้องจบชีวิตตนเองลงก็มี บางครั้งก็อาจมีประสาทหลอนทางตา หรือเห็นภาพหลอน (visual hallucination) ผู้ป่วยอาจเห็นภาพคนที่ตายไปแล้ว หรือเห็นนางฟ้า เทวดา พญายม มาเรียกหาโดยที่เป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึกของตน
ลักษณะอาการทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นแก่ผู้ป่วยโรคจิตเภทมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับผู้ป่วยว่าได้รับการรักษาที่ดีหรือไม่ สำหรับสถานการณ์ของผู้ป่วยโรคจิตเภทในเมืองไทยมีเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับการรักษา เพราะคนโดยทั่วไปไม่มีความรู้ในเรื่องโรคจิตเวช และคิดว่าเป็นเรื่องของเวรกรรม นอกจากนี้ยังมีความเชื่อแต่เดิมที่คอยตอกย้ำว่า โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้
แพทย์หญิงสมรัก ชูวานิชวงศ์ จิตแพทย์โรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวถึงการรักษาผู้ป่วยโรคจิตเวชว่า
"ที่ผ่านมาเราจะถูกปลูกฝังว่าโรคนี้ไม่มีทางรักษาให้หายได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วโรคประเภทนี้เป็นโรคทางกาย สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายและส่งพวกเขากลับคืนไปสู่สังคมการทำงานเดิมของตนเองได้ แต่การที่ผู้ป่วยโรคจิตเวช คนหนึ่งจะหายได้อย่างเด็ดขาดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ
ปัจจัยแรกและสำคัญที่สุดคือตัวผู้ป่วยเองที่ต้องยอมรับว่าตนเองมีอาการ และเปิดใจที่จะทำการรักษา ปัจจัยที่สองคือ ครอบครัวของผู้ป่วยที่ยอมรับว่าคนในครอบครัวเป็นโรคจิตเวช พามารับการรักษาในระยะเริ่มต้นของโรค ปัจจัยสุดท้ายคือแพทย์ที่เอาใจใส่คนไข้ และ ยาที่ใช้ในการรักษา หากปัจจัยทั้งหมดนี้สามารถมาบรรจบกันได้ในตัวผู้ป่วย อาการของโรคก็จะเบาบางลงจนถึงหายสนิท แต่ในบางครั้ง ยาดีมีแล้ว หมอดีมีแล้ว แต่คนไข้ กับหมอดี กับยาดีไม่เจอกัน ก็ทำให้ผู้ป่วยโรคจิตเวช ต้องทนทรมานอยู่กับอาการของโรคต่อไป
ถึงเวลานี้ภาพของผู้ป่วยโรคจิตเวช ในเมืองไทยควรจะได้รับการดูแลเช่นเดียวกับผู้ป่วยทางกายรายอื่น เพราะในปัจจุบันพัฒนาการทางการรักษาของโรคนี้มีมากขึ้น และรัฐก็เริ่มหันมาให้ความสนใจเพิ่มงบประมาณ โดยเน้นไปที่ตัวยา แต่ถ้าจะให้ครบวงจรของการบำบัดผู้ป่วยด้วยโรคประเภทนี้แล้ว ควรจะมีการให้ความรู้กับสังคมเกี่ยวกับโรคจิตเวชด้วย
*การเดินทางของออกจากการเป็นบ้าของ "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม"
จากอดีตที่เป็นคนเก็บตัวอยู่กับโลกของตนเองมองโลกในแง่ร้าย และโดดเดี่ยว ปัจจุบัน "เครือวัลย์ เที่ยงธรรม" มีสายตาในการมองโลกที่เปลี่ยนไป อาการป่วยของเครือวัลย์ นั้นเกิดขึ้นในช่วงต้นของวัย 40 ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่น่าจะมีป่วยด้วยโรคจิตเภทได้ ทั้งนี้เธอได้เล่าถึงอาการป่วยของตนเองว่า
"ในช่วงที่เริ่มรู้สึกตัวว่าตนเองป่วยนั้น จะมีอาการหูแว่ว ความคิดเปลี่ยนไป อารมณ์เปลี่ยนไป จึงตัดสินใจไปอยู่กับกลุ่มหนึ่งที่เราไว้ใจ และเพื่อนคนหนึ่งในกลุ่มซึ่งเป็นพยาบาลมีความเข้าใจในเรื่องโรคนี้เป็นอย่างดี เขาจึงนำเรามาหาคุณหมอสมรักษ์ ซึ่งนับว่าโชคดีมาก โดยหลังจากนั้นก็ได้รับการรักษาด้วยยาและการบำบัดอยู่ประมาณ 2 เดือนอาการต่างๆก็ค่อยๆดีขึ้น
ภายหลังจากที่ยอมรับว่าตนเองป่วยและเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธีแล้ว ทัศนคติในการมองโลกของเราก็เปลี่ยนไป พูดง่ายๆคือชีวิตก่อนหน้านี้ทุกข์ใจมากกว่านี้ จากการป่วยแล้วได้พบกับคุณหมอสมรักษ์ และคุณหมอท่านอื่นๆ รวมไปถึงเพื่อนผู้ป่วยด้วยกันทำให้ตนเองได้สัมผัสถึงความงดงาม ในความสัมพันธ์และไมตรีจิตของมนุษย์ มันกลายเป็นพรที่ซ่อนอยู่ในความทุกข์ทรมาน ซึ่งก่อนนี้ตนเองจะเป็นคนมองโลกในแง่ร้าย มีความเครียดสูง พอป่วยแล้วรู้สึกได้ว่าตนเองมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมได้ดีขึ้น"
ทั้งนี้ คุณหมอสมรัก ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า "ถ้าคนเป็นโรคจิตเภทได้มีโอกาสเจอกับจิตแพทย์ และได้รับการรักษาที่ถูกต้องโอกาสหายก็มี แต่ปัจจุบันการสร้างความเข้าใจให้คนไทย รู้จักโรคจิตเภท และได้รับการรักษานั้นยังอีกไกล ทั้งที่ในความเป็นจริงสังคมไทยมีคนป่วยเป็นโรคในลักษณะนี้อยู่มาก แต่ส่วนใหญ่แล้วทั้งตัวผู้ป่วยหรือครอบครัวของผู้ป่วยอาจปฏิเสธไม่ยอมรับว่าคนที่อยู่ในครอบครัวมีอาการ เพราะมันเป็นเรื่องยอมรับได้ยากมาก
เนื่องจากกระบวนการจิตใจของคนปกติเมื่อเกิดเรื่องร้ายขึ้นกับตนเอง บางคนอาจช็อกตกใจไปเลย ในขณะที่บางคนก็ปฏิเสธความจริงว่ามันไม่ใช่เรื่องของเรา ไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา ก็เลยทำเป็นเหมือนไม่เห็นเหมือนมันไม่ใช่ เป็นความรู้สึกเหมือนกับคนที่เราต้องตายจากไป เราก็ไม่อยากสูญเสียแบบนั้น
ถามว่าลูกคนหนึ่งของพ่อแม่ที่ตั้งความหวังเอาไว้มากว่าจะประสบความสำเร็จ อยู่มาวันหนึ่งหมอบอกว่าลูกเป็นโรคจิตและรักษาไม่หาย แล้วลูกมีอาการทางจิตแสดงให้เห็นอยู่ทุกวัน ลูกคนนั้นของพวกเขาเท่ากับทำให้ฝันของพ่อแม่สลายไปแล้ว ดังนั้น เวลาที่ครอบครัวดีๆ ต้องประสบกับภาวะมีผู้ป่วยอยู่ในบ้าน เขาก็จะปฏิเสธที่จะดูแลคนเหล่านี้ เพราะทำใจยังไม่ได้
ตรงนี้จึงอยากจะบอกว่า จุดเริ่มต้นในการรักษาโรคจิตเภทนั้นคนไข้เองต้องเรียนรู้ความเจ็บปวดว่าตนเองเป็นโรค รวมไปถึงครอบครัวเช่นกัน เพราะบางครอบครัวคนไข้รู้ตัวและอยากมารักษา แต่ญาติพี่น้องยังรับไม่ได้ ก็กันเอาไว้ไม่ให้มารักษา"
*จาก 'ลอรี่' ถึง 'เครือวัลย์' โลกแปลกของผู้ป่วยจิตเภท
ลอรี่ ชิลเลอร์ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ของโรคจิตเภท ผ่านหนังสือ The Quiet Room A Journey Out of the Torment of Madness หรือ "การเดินทางออกจากการเป็นบ้า" เธอต้องเผชิญหน้ากับอาการป่วยของโรคนี้เมื่อมีอายุได้ 17 ปี ทั้งที่เป็นเด็กวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวฐานะดี มีคความอบอุ่น 6 ปีหลังจากมีอาการป่วย ลอรี่ พยายามฆ่าตัวตายเป็นครั้งแรก จากนั้นใช้ชีวิตในเสื้อผ้ามอมแมมเดินท่อมๆไปตามถนนในกรุงนิวยอร์ก และทนทุกข์ทรมานด้วยเสียงที่ดังก้องอยู่ในหัว
หลังตกอยู่ในโลกหลอนที่น่าสะพรึงกลัวของโรคจิตเภท ผ่านความเจ็บปวดทุกข์ยากของการบำบัดรักษาพยายามฆ่าตัวตายอีกหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความช่วยเหลือประคับประคองของครอบครัวและคนใกล้ชิด ลอรี่ กลับมาสู้กับโรคร้ายนี้จนกระทั่งเธอสามารถกลับมาสู่โลกปกติ และนำพาให้คนอื่นได้เข้าไปสัมผัสโลกของผู้ป่วยอย่างเธอผ่านทางตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้
ความรู้สึกร่วมของ เครือวัลย์ เที่ยงธรรม ในฐานะผู้ป่วยจิตเภทเช่นเดียวกับลอรี่ เมื่อครั้งที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จากการส่งผ่านของน้องสาว เธอกล่าวว่าหลายๆตอนในหนังสือคือความจริงที่เธอเองก็ต้องประสบเช่นกันในฐานะผู้ป่วย แม้ไม่มากเท่ากับลอรี่แต่ก็สัมผัสได้ถึงความเจ็บปวดเช่นกัน ดังในตอนที่ ลอรี่ กล่าวถึงผลข้างเคียงของยาที่ใช้รักษา ซึ่งเครือวัลย์ เล่าให้ฟังว่า
"ตอนที่บรรยายถึงเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา ซึ่งผู้เขียนบอกว่ารู้จักยาจากผลข้างเคียงของมัน เนื่องจากตัวยาที่ใช้รักษานั้นจะทำให้คนไข้มีอาการข้างเคียงที่รุนแรงมาก ไม่ว่าจะเป็นอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ บางคนไม่สามารถตั้งคอให้ตรงได้ต้องแหงนไปข้างหลัง มีอาการซึม ตัวแข็ง เดินเหมือนซอมบี้ ลากขา หน้าตายไม่มีอารมณ์ แม้จะยิ้มก็ยังยาก ท้องผูก ปัสสาวะคั่ง กระสับกระส่าย เพราะตัวยาที่ใช้รักษานั้นจะทำให้เฉื่อย และกระสับกระส่ายในเวลาเดียวกัน เมื่อได้รับยาแล้วจะอยู่นิ่งไม่ได้ต้องเดินไปเดินมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ เราก็มีประสบการณ์ร่วมไปกับลอรี่ แม้ไม่มากเท่าแต่ก็เข้าใจ"
นอกจากนี้ ภาพจากตัวอักษรที่ลอรี่ ถ่ายทอดผ่านหนังสือเล่มนี้ ยังสะท้อนภาพของสังคมที่ไม่เข้าใจลักษณะของโรค ดังเช่นตอนหนึ่งในหนังสือเมื่อ ลอรี่ไปสโมสรกับพ่อแม่ แล้วมีคนกระซิบกระซาบกัน ก็เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกันในสังคมไทย นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่องยาที่ใช้ในการรักษา ดังเช่นลอรี่ ซึ่งป่วยเป็นโรคจิตเภทในยุคสมัยที่ตัวยาที่ใช้ทำการรักษานั้นไม่มีประสิทธิภาพพอ ที่หายก็เป็นเพราะยาตัวใหม่ตัวหนึ่งที่เพิ่งผลิตออกมา ซึ่งปัญหาดังกล่าวก็เกิดขึ้นในเมืองไทยเหมือนกันไม่ใช่เรื่องไม่มียา แต่เป็นปัญหาที่เข้าไม่ถึงยาของผู้ป่วย เพราะคนไทยที่ยากจน ก็จะไม่มีโอกาสเข้าถึงยาที่ดี
มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะสื่อสารไปถึงคนในสังคมปกติผ่านตัวอักษรในหนังสือเล่มนี้คือการตีตราคนป่วยว่าเป็นคนไม่ดีหรือน่ากลัว เพราะดูเหมือนความรู้สึกของคนไทย ที่มีต่อโรคจิตก็คือคนที่ทำความชั่ว คนที่ทำอะไรที่แปลกแล้วชั่ว ก็จะเรียกว่าคนโรคจิต หรือไม่ก็คนโรคจิตคือคนที่ทำอะไรรุนแรง ก็จะมีข่าวให้เห็นกันบ่อยๆ
แต่คนที่ป่วยเป็นจิตเภท นั้นมีผู้ป่วยประมาณ 6 แสนคน และคนที่มีข่าวรุนแรงก็จะมีบ้างเป็นบางครั้ง แต่ที่เป็นอย่างนั้นเพราะไม่ได้รับการรักษาและถูกยั่วยุ นอกจากนี้ อยากเรียกร้องให้สื่อ ไม่ใช้คำว่าโรคจิต ในกรณีของฆาตกร หรือ คนที่ทำไม่ดีต่างๆ เพราะมันเป็นการตีตรา
การตัดสินคนในลักษณะนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เสียใจแต่ทำให้คนไม่กล้าเข้าไปรักษา เนื่องจากสังคมไม่ยอมรับว่านี่คือโรคอย่างหนึ่ง ถ้าเข้าไปรักษากลัวว่าจะถูกตีตรา ทำให้ผู้ป่วยต้องทนอยู่กับโรค และโอกาสที่จะหายของผู้ป่วยจะน้อยลงด้วย"
จนถึงเวลานี้ ยังมีผู้ป่วยโรคจิตเวช อีกหลายร้อยคนที่กำลังรอคอยเวลาที่จะได้เดินทางออกจากการเป็นบ้า แต่การเดินทางของพวกเขาจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นกับการเปิดใจ และการให้กำลังใจของสังคมในการยอมรับว่าโรคดังกล่าวเป็นโรคทางกายเกิดจากการทำงานผิดปกติของสมอง เมื่อได้รับการรักษาที่ดีแล้ว พวกเขาสามารถเดินทางกลับคืนสู่สังคม และครอบครัวที่พวกเขารักได้
**************************เรื่อง - สวรรยา ทรัพย์ทวี- - - - -- -- - - - - - - - - - -- -- - - -- ข่าว จาก : ผู้จัดการรายวัน 10 พฤศจิกายน 2548
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)